Loading...

Loading
รับฝากขายบ้าน : บ้านมือสอง

ทำความเข้าใจเรื่อง “ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากสองหมื่นบาท”

20 เมษายน 2562


         เมื่อวันที่ 4 เม.ย. กรมสรรพากรออกประกาศฉบับใหม่เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้จาก ‘ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร’ โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือการกำหนดเงื่อนไขของผู้ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากใหม่

จากเดิม  คนที่ได้ดอกเบี้ยรวมกันทุกบัญชีของทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 บาท/ปี ทุกคน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15%

แต่หลังจากวันที่ 15 พ.ค. นี้เป็นต้นไป  คนที่ได้ดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท/ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีก็ต่อเมื่อยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยที่ได้รับดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรเท่านั้น! หากไม่ยินยอมให้ส่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไม่ว่าดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นจะน้อยเพียงใดก็ตาม

สำหรับผู้ที่ได้ดอกเบี้ยรวมเกิน 20,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% อยู่แล้วไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรหรือไม่...

ดอกเบี้ยเงินฝากใหม่.jpg


"เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.50 คนที่จะได้รับดอกเบี้ยมากกว่า 20,000 บาทต่อปี จะต้องมีเงินในบัญชีทุกธนาคารรวมกันมากกว่า 4,000,000 บาท"

ในขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเดือน ก.พ. 62 ระบุว่า บัญชีเงินฝากในประเทศที่มีเงินในบัญชีมากกว่า 1,000,000 บาท มีอยู่แค่ประมาณ 1% จากบัญชีเงินฝากทั้งหมดกว่า 88 ล้านบัญชี การปรับเงื่อนไขใหม่นี้จึงไม่ได้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องเสียภาษีมากขึ้น แต่ผู้มีบัญชีเงินฝากอาจต้องไปแจ้งให้ความยินยอมกับธนาคารทุกแห่งที่เปิดบัญชีไว้

ด้านกรมสรรพากรยืนยันว่า มาตรการใหม่นี้ไม่กระทบประชาชนส่วนใหญ่ แต่ปรับเงื่อนไขยกเว้นภาษีเงินฝากเพื่อแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีของผู้ที่เงินฝากจำนวนมาก เพราะที่ผ่านมาข้อมูลของแต่ละธนาคารไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้ผู้ฝากเงินสามารถเปิดบัญชีกระจายไปหลายๆ ธนาคาร เมื่อดูดอกเบี้ยที่ได้จากธนาคารแห่งเดียวอาจไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่จริงๆ เมื่อรวมดอกเบี้ยที่ได้รับจากทุกบัญชีธนาคารแล้วกลับได้ดอกเบี้ยเกินเกณฑ์ หรือบางคนก็หลบเลี่ยงโดยการปิดบัญชีก่อนได้ดอกเบี้ยเกินเกณฑ์ แล้วเปิดบัญชีใหม่

ดังนั้น เมื่อเพิ่มเงื่อนไขให้ผู้ฝากเงินต้องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝากเงินให้กับกรมสรรพากรปีละ 2 ครั้ง กรมสรรพากรก็จะทราบข้อมูลทั้งหมดว่ามีใครบ้างที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

ขอบคุณข้อมูลจาก : workpointnews.com

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น นโยบายคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว