เตรียมพร้อม! ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง
ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านไม่ได้มีแค่ ‘ราคาบ้าน’ เท่านั้น
หลายคนที่เข้าใจผิดอาจไม่ได้เตรียมเงินเผื่อเหลือเผื่อขาดสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ
จนเมื่อจะซื้อบ้านจริงๆ อาจเกิดปัญหาเงินไม่พอจนบ้านที่ตั้งใจจะซื้อต้องหลุดลอยไป…
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
เราจึงควรมาทำความรู้จักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นอกเหนือจากราคาบ้าน
เพื่อที่ว่าเราจะได้เตรียมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านให้เพียงพเมื่อคิดจะซื้อบ้าน
1.ค่าจองและทำสัญญา (ค่ามัดจำ)
ค่าจอง
อาจเรียกง่ายๆ ว่า “เงินจอง” เป็นเงินที่เราจะต้องนำไปให้กับผู้ขายเพื่อเป็นการรับประกันว่าเราต้องการซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมนี้จริงๆ
ไม่ว่าจะการจองตั้งแต่ก่อนก่อสร้างหรือภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ
ซึ่งค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้ขายหรือโครงการ
แต่มักจะมีราคาหลักหมื่นขึ้นไป
หลังจากวางเงินจองแล้ว
คุณจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งระบุรายละเอียดและค่าใช้จ่ายต่างๆ
ว่าใครคือผู้รับผิดชอบ จำนวนเท่าไหร่
คุณควรอ่านและศึกษารายละเอียดของสัญญาก่อนลงนาม
โดยสัญญาจะซื้อจะขายต้องมีคู่ฉบับให้ผู้ซื้อ – ผู้ขายลงนาม
และถือไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ
หลายโครงการกำหนดให้ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อทำสัญญาจะซื้อจะขาย
2.ค่าประเมินราคาเมื่อขอสินเชื่อ
เงินส่วนนี้เป็นเงินที่ธนาคารเรียกเก็บจากคุณเป็นค่าดำเนินการในการประเมินมูลค่าบ้านเพื่อที่ธนาคารจะได้นำมาประเมินวงเงินสินเชื่อให้คุณ
ซึ่งค่าประเมินราคาจะมีราคาประมาณ 1,000 – 3,000 บาท แล้วแต่ธนาคาร นั่นหมายความว่า
ถ้าคุณยื่นขอสินเชื่อจากหลายธนาคาร คุณก็ต้องจ่ายค่าประเมินราคาให้กับทุกเจ้า
ทั้งนี้
สินเชื่อบ้านบางโครงการของบางธนาคารอาจยกเว้นค่าประเมินราคา
หรือบางที่อาจมีโปรโมชั่นฟรีค่าประเมินให้
3.ค่าจดจำนอง
ค่าจดจำนองจริงๆ
แล้วคือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนกับกรมที่ดิน ซึ่งคิดเป็น 1% ของวงเงินจำนอง หรือราว 1% ของยอดกู้ (กรณีที่ขอสินเชื่อกับธนาคาร) เช่น
ได้วงเงินกู้ 1,000,000
บาท
ต้องเตรียมเงินจำนองจำนวน 10,000
บาท นอกจากนี้
จะมีค่าอากรแสตมป์ราคา 0.50%
ของราคาซื้อ-ขาย
ซึ่งควรเจรจากับผู้ขายและควรระบุในสัญญาจะซื้อจะขายให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าโอน
4.ค่าโอนกรรมสิทธิ์
ค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์นั้นจะจ่ายให้กับกรมที่ดินเช่นเดียวกับค่าจดจำนอง
โดยกรมที่ดินคิดค่าจดทะเบียนสิทธิ 2% จากราคาประเมิน
และสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้ซื้อกับผู้ขายควรตกลงว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งกันรับผิดชอบฝ่ายละ 1%
5.ค่าเบี้ยประกันภัยบ้าน
เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึง
หลายคนอาจคิดว่าไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านเลยก็ได้ แต่จริงๆ แล้ว อย่างน้อย
เมื่อขอสินเชื่อบ้านแล้ว อย่างไรก็จะต้องทำประกันวินาศภัยหรืออัคคีภัยตามกฎหมาย
ซึ่งเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับมุูลค่าบ้าน บ้านราคาสูง
ค่าเบี้ยประกันสูงกว่าบ้านราคาต่ำจะอยู่ในช่วง 1,000 บาทขึ้นไป ต่อปี
(สำหรับบางธนาคารอาจเรียกเก็บพร้อมค่าผ่อนรายเดือนอยู่แล้ว)
6.ค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า
สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านส่วนนี้
จะแตกต่างกันไปตามบ้านแต่ละประเภทโดยขึ้นอยู่กับมาตรวัด ขนาดมิเตอร์
และจำนวนกระแสน้ำ-ไฟที่ปล่อยได้ อาจมีได้ทั้งค่าติดตั้งมิเตอร์ ค่าประกันมิเตอร์
และค่าประกันการใช้น้ำ-ไฟฟ้า เมื่อรวมกันทั้งหมดจะอยู่ในช่วงหลักพันถึงหลักหมื่น
7.ค่าส่วนกลาง (ถ้ามี)
หากเป็นบ้านเดี่ยวไม่ได้มีโครงการดูแลต่อหลังจากการขาย
ก็จะไม่มีค่าส่วนกลาง แต่สำหรับคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร บ้านในหมู่บ้านของโครงการ
จะมีค่าส่วนกลางสำหรับบริหาร ปรับปรุง และพัฒนาโครงการ เช่น
ค่าระบบรักษาความปลอดภัย ค่าบำรุงรักษาสินทรัพย์ในโครงการ
ค่าใช้บริการสินทรัพย์หรือสถานที่ส่วนกลาง เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนกลางจะขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ
โดยเก็บตามขนาดพื้นที่ห้องชุดหรือขนาดเนื้อที่ดินกรณีที่ดินอาคาร
8.งบเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
แม้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านโดยตรง
แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
และบางทีก็เป็นค่าใช้จ่ายที่อาจงอกขึ้นมาเรื่อยๆ หากไม่วางแผนก่อน แนะนำว่า
ในระหว่างที่คุณกำลังเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน
ให้คุณประเมินและวางแผนซื้อเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมกับราคาบ้านที่ต้องการไว้ด้วย
9.งบตกแต่งบ้าน
ควรตั้งงบประมาณก่อนที่จะออกไปซื้อของมาตกแต่งบ้าน
และลองคิดว่าจะใช้เงินส่วนนี้กับอะไรบ้างให้คุ้มค่าที่สุด
และคิดหาวิธีที่จะตกแต่งบ้านให้น่าอยู่ได้แบบประหยัด
สำหรับใครที่ซื้อบ้านกับทาง Bangkok Asset เรามีโปรโมชั่นพิเศษ ฟรี ค่าโอน* ค่าจดจำนอง*
ส่วนลดสูงสุดหลักล้านบาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)
*บ้านใหม่กับบ้านมือสองมีค่าใช้จ่ายแฝงจะไม่ต่างกันมาก
ซึ่งบ้านใหม่จะมีเพิ่มเข้ามาในส่วนของเงินดาวน์เท่านั้น
ที่มา : ghbank