8 วิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน
ปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นไฟรั่ว ไฟช็อต เป็นเรื่องที่อันตราย และทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกหลายอย่าง การวางสายไฟหรือการเลือกใช้อุปกรณ์ และการวางระบบไฟฟ้า ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ทุกคนควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านเอาไว้เพื่อจะได้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย บางกอก แอสเซทฯ มีวิธีติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านให้ปลอดภัยไม่มีรั่ว รวมถึงวิธีการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร มาฝากทุกคนด้วยครับ
1.การต่อสายดิน
การต่อสายดินเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงในงานเดินระบบไฟฟ้าในบ้าน บางคนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสายดินเท่าไหร่นัก เพราะถึงจะไม่มีสายดิน เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ก็ยังใช้งานได้ตามปกติ แต่หารู้ไม่ว่าการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นโดยไร้สายดินเต็มไปด้วยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่วขึ้นมาขณะที่คุณใช้งานอยู่ จะทำกระแสไฟเข้าหาคุณโดยตรง แต่ถ้าคุณมีสายดินรองรับไว้ กระแสไฟเหล่านั้นจะวิ่งเข้าสู่สายดินและถูกปล่อยลงพื้นดินแทน ไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณได้
2.ใช้สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติ
บางบ้านอาจจะมีสวิตซ์ตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติกันอยู่แล้ว เพราะสวิตซ์ตัวนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกบ้านสมควรมี หากเกิดปัญหาไฟรั่วแล้วช็อตขึ้นมา เจ้าสวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติจะทำหน้าที่ตัดไฟทั้งระบบเพื่อให้ไม่เกิดความเสียถึงขั้นไฟลัดวงจรแล้วลุกไหม้หรือช็อตคนจนเสียชีวิตได้ เรียกได้ว่ามีไว้ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ฉะนั้นเพื่อความสบายใจติดตั้งไว้เถอะ
3.ใช้ฉนวนป้องกันไฟฟ้า
ฉนวนป้องกันไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งความปลอดภัยที่คุณควรมีไว้ เพราะเจ้าฉนวนป้องกันไฟฟ้าจะช่วยห่อหุ้มสายไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเสียหายชำรุด ฉีกขาดที่เราอาจมองไม่เห็นได้ เมื่อเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ อาจเผลอทำให้สายไฟฉีกขาดได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ ควรหาฉนวนป้องกันไฟฟ้ามาหุ้มไว้ก่อนดีที่สุด โดยเฉพาะจุดไหนที่สุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดรอยรั่วได้ เช่น บริเวณตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ขั้วหลอด ปลั๊ก ยิ่งสมควรใช้ฉนวนป้องกันเอาไว้ให้แน่นหนา
4.สายไฟเก่า สายไฟชำรุดห้ามใช้งาน
ถ้าพบว่าสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ภายในบ้านนั้นมีสภาพเก่าจนน่าจะเป็นอันตราย หรือมีการชำรุดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนให้หยุดใช้ไฟในบริเวณนั้นทันที และเรียกช่างที่มีความชำนาญมาทำการเปลี่ยนสายไฟใหม่อย่างรวดเร็วที่สุด
5.ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ อยู่เสมอ
สังเกตว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ หรือถ้าพบว่ามีการชำรุดต้องหยุดใช้งานทันที
6.เลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ
เพราะปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพนั้นจะมีระบบตัดไฟภายในตัวเอง ถ้าพบว่ามีไฟช็อต หรือมีการใช้กระแสไฟมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ ปลั๊กพ่วงจะตัดการทำงานโดยทันที
7.เดินระบบไฟฟ้าในบ้านใหม่ทั้งหมด
ถ้ามีการขอใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิม และมีจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่มากขึ้น ควรหาผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบมาตรฐานของสายไฟฟ้า และตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านว่ามีมาตรฐานเพียงพอที่จะรองรับการทำงานทั้งหมดหรือไม่ ถ้าสายไฟฟ้าเดิมไม่ได้มาตรฐานนั้นต้องทำการเปลี่ยนสายไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านใหม่ทันที รวมถึงเปลี่ยนเบรกเกอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในกล่องควบคุมไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานอีกด้วย
8.ตัวเปียก อย่าเสียบปลั๊ก
อันนี้สำคัญ และเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่มีหลายคนพลาดจนโดนไฟดูดไฟช็อตให้เห็นบ่อย ๆ ถ้าตัวเปียกฝนมา อย่าเอามือไปเปิดไฟหรือเสียบปลั๊กอะไรนะครับ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟช็อตหรือไฟลัดวงจรได้
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับเรื่องระบบไฟฟ้าในบ้านง่าย ๆ แต่อย่าเผลอมองข้ามเด็ดขาดครับ ถึงปัญหาไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าช็อตไม่เคยเกิดขึ้นก็ใช่ว่าจะไม่มีทางเกิด ดังนั้นการป้องกันเอาไว้ตั้งแต่ปัญหายังไม่เคยเกิด ย่อมดีกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเสมอครับ
สำหรับบ้านตกแต่งใหม่ที่บางกอก แอสเซทฯ เราดูแลระบบไฟให้ใหม่ โดยเฉพาะบ้านที่ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานจะเดินระบบไฟฟ้าในบ้านใหม่ทั้งหมดด้วยครับ สามารถดูบ้านตกแต่งใหม่ได้ที่นี่ >>คลิก<<
ที่มา : www.baania.com, indyinsights
บทความที่เกี่ยวข้อง