Loading...

Loading
รับฝากขายบ้าน : บ้านมือสอง

เลือกบ้านแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน หรือพรีคาสท์ดีนะ

29 พฤศจิกายน 2565

การเลือกซื้อบ้านนอกจากทำเล ราคา ดีไซน์ พื้นที่ใช้สอย และสิ่งอำนวยความสะดวกแล้ว ที่สำคัญอีกอย่างคือวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ครั้งนี้จะพาไปดูกันว่าผนังบ้านแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน กับผนังสำเร็จรูปอย่าง Precast เราควรเลือกซื้อบ้านที่สร้างผนังแบบไหนดี และทั้งสองแบบแตกต่างกันยังไง มาไขข้อสงสัยไปด้วยกันครับ

บ้านแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน กับพรีคาสท์ต่างกันยังไง  
 
ระบบการสร้างบ้านแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน
ระบบการก่อสร้างบ้าน ที่มีมาอย่างยาวนาน แบ่งเป็นข้อดี ข้อเสีย ดังนี้

อิฐมวลเบา.jpg

ข้อดีของบ้านแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน
ความแข็งแกรง ทนทาน ถ้าใช้อิฐมอญ ในการก่อสร้างจะมีความได้เปรียบกว่าวัสดุอื่น ๆ โดยมีส่วนผสมที่ทำจากดินเหนียว ปนทราย ผสมแกลบและขี้เถ้า ผ่านกระบวนการอบ มีการยึดเกาะเนื้อผิวดี รับน้ำหนักการทุบ เจาะ ฝัง และ อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคงทน หรือ หากเลือกใช้ อิฐมวลเบา ซึ่งมีส่วนผสมจากทราย ซีเมนต์ ปูนขาว ยิปซัม และผงอะลูมิเนียม ที่สามารถทนทานต่อทุกสภาวะอากาศได้

ทนความร้อน สร้างความเย็น  หากเลือกใช้ อิฐมวลเบา บ้านก็จะมีการถ่ายเท ระบายอากาศได้ดี เนื่องจากตัวอิฐมวลเบา มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน เนื้ออิฐมีลักษณะเป็นฟองอากาศ ช่วยประหยัดพลังงาน และ ลดอัตราการสิ้นเปลืองของค่าไฟฟ้าลงไปได้เยอะ 

การต่อเติมที่ง่าย  การก่อสร้างด้วยปูนง่ายต่อการต่อเติมบ้าน สามารถทุบ เจาะ แขวน เพิ่มเติมไปได้เลย ไม่ทำให้เสียรูปร่างของบ้าน แต่ก็ต้องใช้ผู้ชำนาญมาช่วยวิเคราะห์ต่อเติมให้เหมาะสมกับตัวบ้าน

ขนาดมีมาตรฐาน การก่อสร้างด้วยปูน จะมีการใช้อิฐที่นำมาฉาบปูนก่อเป็นผนังขึ้นไป ซึ่งขนาดของอิฐก็จะมีมาตรฐานของมันเอง จึงสามารถใช้งาน ขึ้นรูป ตัดแต่งได้ตามขนาด และ รูปแบบที่เจ้าของบ้านต้องการ ช่วยประหยัดวัสดุ และ แรงงานในการก่อฉาบ อีกทั้ง หากใช้อิฐมวลเบา ในการก่อสร้าง จะมีน้ำหนักเบา และก่อสร้างได้เร็วขึ้น 
 
เก็บเสียงได้ดี อยู่ที่การออกแบบ ว่าก่อสร้างให้หนาทึบมากแค่ไหน เพราะโดยส่วนใหญ่ การก่อสร้างด้วยปูน จะช่วยเก็บเสียงได้ดีอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นอิฐมวลเบา จะลดเสียงสะท้อนได้ดี กว่าอิฐมอญด้วย  **เนื่องจากอิฐมวลเบามีลักษณะเป็นรูพรุน ความหนาแน่นต่ำกว่าอิฐมอญหรือพรีแคส ทำให้ลดความหนาแน่นของตรงกลางในการส่งผ่านส่งผ่านเสียงทะลุผนังไปอีกด้านได้ดี

ทนต่อไฟ บ้านผนังปูนจะทนทานต่อไฟมากกว่าผนังสำเร็จรูป และอาจจะทนได้ถึงประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทำให้คนที่พักอาศัยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

อิฐมอญแดง.jpg

ข้อเสียของบ้านแบบก่อ-ฉาบ
-บ้านปูน ผนังอาจแตกร้าวง่าย เกิดจากการฉาบผนังในช่วงที่ก่อสร้างเสร็จใหม่ ขณะที่ปล่อยให้ปูนฉาบแห้งและเซทตัวให้ยึดติดกับผนัง อาจเกิดการแห้งในแต่ละพื้นที่ไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดแตกร้าวที่เกิดจากการหัวตัวของซีเมนต์ได้ แต่อาการนี้แก้ไม่ยากเพียบกรีดผนังแล้วฉาบปูนเข้าไปใหม่ก็จะหาย
-ใช้วัสดุพวกอิฐมวลเบา อาจต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการก่อสร้าง และฝีมือละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา
-อิฐมวลเบาคุณภาพดี อาจมีราคาแพงกว่า อิฐทั่วไป
-ดูดซึมน้ำปานกลาง บางส่วนอาจมีกลิ่นอับชื้นได้

ปัญหาจะหมดไปถ้าเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และมีทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบ้านแบบปูนจะเกิดปัญหาน้อยที่สุด 

precast.jpg

ระบบก่อสร้างสำเร็จรูปแบบ Precast 
สร้างบ้านด้วยผนังสำเร็จรูป เทคโนโลยีใหม่ยอดนิยม บ้านสร้างเสร็จรวดเร็ว โดยมีข้อดี ข้อเสียในการสร้างบ้าน ดังนี้

ข้อดีของบ้านแบบ Precast
-ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่เร็วขึ้น คุณภาพงานก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานที่ผลิตจากโรงงาน สร้างโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่วางไว้แล้ว ทำให้หลาย ๆ โครงการเปิดได้อย่างรวดเร็ว ทันความต้องการของตลาด 
-ช่วยในการจัดวางพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น เนื่องจากชิ้นส่วน เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ เป็นงานที่นำมาวางตามแบบได้เลย ไม่ขึ้นกับสภาพอากาศและฝีมือช่าง ทำให้จัดวางรูปแบบของพื้นที่ ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ เนื่องจากไม่มีเสาบ้าน
-ลดปัญหาด้านการขาดแรงงาน เพราะเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูป ชิ้นส่วน ส่วนใหญ่ทำในโรงงานไม่ต้องใช้คนงานเยอะในการจัดการ
-ลดปัญหาเรื่องฝุ่น เสียงรบกวนขณะก่อสร้าง 
-ลดการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้

ข้อเสียของบ้านแบบ Precast
แม้ระบบ Precast จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ง่ายต่อการสร้างบ้าน แต่ก็มีข้อเสียที่พบเป็นปัญหาบ่อยๆ ดังนี้

-รอยร้าว สามารถเกิดขึ้นได้ ในร่องที่ถูกออกแบบไว้บริเวณรอยต่อระหว่างผนัง หากติดตั้งไม่ได้คุณภาพ จะเกิดการแตกร้าว รั่วซึม หากเกิดการแตกร้าวแล้ว แก้ไขยาก เพราะคอนกรีตมีความแข็งสูงมากและต้องใช้เครื่องมือเฉพาะเพื่อซ่อมรอยร้าวที่เกิดขึ้น
-ต้องเตรียมงานล่วงหน้านาน และต้องรอบคอบ เพราะต้องคำนึงถึงการผลิต ขนส่ง และติดตั้ง
-มีข้อจำกัดในการออกแบบการก่อสร้าง เพราะชิ้นส่วนเป็นแบบสำเร็จรูป ต้องทำออกมาง่ายต่อการผลิต และ ขนส่ง
-ความแข็งแรง ขึ้นอยู่กับจุดเชื่อมต่อชิ้นส่วนเข้าด้วยการ มีความซับซ้อนในการผลิตและติดตั้ง
-เก็บความร้อนและคายความร้อนช้า เมื่อโดนแดดนาน ๆ บ้านร้อนง่าย
-คุณสมบัติความแข็งแรง ถูกประเมินตามน้ำหนักสำเร็จรูปแล้ว ทำให้การเจาะ การต่อเติมยาก

จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเภทงานก่อสร้าง มีความแตกต่างกันมากทีเดียว ในแง่ของวัสดุและความยากง่ายในการก่อสร้าง ดังนั้นควรยึดเอาความเหมาะสมเป็นหลักว่า ชอบการก่อสร้างแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ ใครที่กังวลใจในเรื่องการต่อเติมบ้าน การเก็บเสียง และการทนต่อความร้อน แนะนำให้เลือกซื้อบ้านแบบก่อ-ฉาบปูน ซึ่งจะปรับแต่งได้มากกว่าครับ

เมืองเอก โครงการ8 วิภาวดี-รังสิต.jpg
ตัวอย่างบ้านเดี่ยวแบบก่ออิฐ ฉาบปูน โครงการ เมืองเอก โครงการ8 วิภาวดี-รังสิต

ใครที่กำลังมองหาบ้านตกแต่งใหม่ในโครงการ ไม่ว่าจะบ้านแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน หรือ Precast สามารถเข้ามาชมบ้านรีโนเวทใหม่แนะนำ By Bangkok Asset  >>ได้ที่นี่เลย<< 

เลือกบ้านแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน-หรือพรีคาสท์ดีนะ.jpg

ที่มา : www.bungaasset.com, www.bangkokassets.com

บทความที่เกี่ยวข้อง
อิฐมอญ อิฐมวลเบา ต่างกันยังไง มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

>> เลือกชมได้ที่นี่คลิก <<

ชม รีวิวบ้านมือสองตกแต่งใหม่ คลิก

ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสอง ในกรุงเทพฯ บ้านมือสองนนทบุรี และปริมณฑล 

สามารถติดต่อได้ที่นี่กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ > คลิกที่นี่ <

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น นโยบายคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว