Loading...

Loading
รับฝากขายบ้าน : บ้านมือสอง

ประเมินความสามารถในการกู้บ้าน เงินเดือนเท่านี้ กู้ได้เท่าไหร่

05 ตุลาคม 2566

วิธีการประเมินความสามารถในการกู้บ้านจะคิดจากอะไรบ้าง แล้วเงินเดือนของคุณ จะกู้ได้ประมาณเท่าไร ในบทความนี้จะแนะนำวิธีคิดจนทำให้คุณประเมินความสามารถในการกู้ของตัวเองก่อนซื้อบ้านได้ด้วยครับ
ธนาคารโดยทั่วไปจะพิจารณาความสามารถในการกู้บ้านจาก 3 ปัจจัย ดังนี้

1. ประมาณการรายได้ต่อเดือน 
ปัจจัยแรกที่ธนาคารจะนำมาพิจารณาก็คือ รายได้ ซึ่งไม่เพียงแค่เงินเดือนเท่านั้น แต่รายได้จากช่องทางต่างๆ ธนาคารจะนำมาพิจารณาเป็นรายได้รวมของผู้กู้ให้ โดยรายได้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่ 
รายได้คงที่ หมายถึง รายได้ที่ได้รับเป็นประจำทุกเดือนหรือมีหลักฐานรับรองรายได้ เช่น เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าครองชีพ
รายได้ไม่คงที่ หมายถึง รายได้ที่อาจจะได้รับ หรือไม่ได้รับ หรือได้รับไม่เท่ากันทุกเดือน เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าบริการ ค่าคอมมิชชั่นยอดขายสินค้า เบี้ยขยัน ฯลฯ ซึ่งรายได้เหล่านี้ ธนาคารจะคิดเป็นค่าเฉลี่ยและนำมาคำนวณเพียงบางส่วน (ไม่นำมาคำนวณเต็มจำนวน)

ตัวอย่างการคำนวณประมาณการรายได้
เงินเดือน : 100%
รายได้อื่นๆ ที่ระบุในสลิปเงินเดือน : 100%
รายได้ไม่คงที่ (เป็นรายได้ที่ได้รับต่อเนื่อง : คิดเป็นค่าถัวเฉลี่ย) : 50%
 
2. ประมาณการหนี้สินที่ต้องชำระต่อเดือน
ปัจจัยต่อมาที่ธนาคารจะนำมาใช้ประเมินความสามารถในการกู้ ก็คือ ภาระหนี้สินที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดของผู้กู้ โดยธนาคารจะนำภาระหนี้สินของผู้กู้ไปหักกับรายได้ จึงจะสามารถประเมินวงเงินให้กับผู้กู้ได้

ตัวอย่างการคำนวณประมาณการหนี้สิน
ผ่อนสินเชื่อบ้าน : 100% (จากอัตราผ่อนแต่ละเดือน หากเหลือ 3 งวดสุดท้าย ไม่คิด)
ผ่อนรถยนต์/รถมอเตอร์ไซค์ : 100% (จากอัตราผ่อนแต่ละเดือน หากเหลือ 3 งวดสุดท้าย ไม่คิด)
บัตรเครดิต : 10% (จากยอดคงเหลือล่าสุด) 
บัตรกดเงินสด : 5% (จากยอดคงเหลือล่าสุด) 
 
3. ความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน 
ซึ่งจะนำทั้ง 1.ประมาณการรายได้ 2.ประมาณการรายจ่ายต้องผ่อน มาคำนวณด้วย โดยความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ธนาคารแต่ละที่จะกำหนดตั้งแต่ 40%-70%* ของรายได้หลังหักภาระหนี้สินต่าง ๆ ออกแล้ว

*หมายเหตุ : อัตราส่วนความสามารถในการผ่อนชำระขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารกำหนด

สูตรคำนวณความสามารถในการผ่อนชำระ (กรณีธนาคารกำหนดความสามารถที่ 50%)

[รายได้ x 50%] – หนี้สินทั้งหมด = ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้สูงสุด

ยกตัวอย่างการคำนวณ
-ประมาณการรายได้ = 33,541.50 บาท
-ประมาณการรายจ่ายหนี้สิน = 13,500 บาท
*ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ได้ [33,541.50 x 50%] – 13,500 = 3,270.50 บาท

ทั้งนี้ หากผู้กู้เตรียมตัวกู้ซื้อบ้าน สะสางหนี้สินต่างๆ จนหมด ก็จะมีความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือนได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถเพิ่มวงเงินสูงสุดที่จะได้ ยกตัวอย่างเช่น รายได้เฉลี่ย 33,541.50 บาท x 50% = 16,770.75 บาท

วิธีประเมินความสามารถในการกู้ หรือ คำนวณวงเงินกู้บ้าน
วิธีการประเมินความสามารถในการกู้โดยทั่วไป ธนาคารจะใช้ อัตราผ่อน 7,000 : วงเงินกู้ 1,000,000 บาท* ซึ่งผู้กู้สามารถนำมาคำนวณหาวงเงินกู้บ้านที่น่าจะได้รับกับความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ด้วยสูตรนี้ 

(ความสามารถในการชำระหนี้ x 1,000,000) ÷ 7,000 = ยอดวงเงินกู้

ยกตัวอย่างการคำนวณ
(3,270.75 x 1,000,000) ÷ 7,000 = 467,250
จากตัวอย่างข้างต้น ผู้กู้อาจได้วงเงินกู้บ้านจำนวน 467,250 บาท
หรือในกรณีที่ไม่มีภาระหนี้สิน คำนวณวงเงินกู้สูงสุดได้ (16,770.75 x 1,000,000) ÷ 7,000 = 2,395,821 บาท
ดังนั้น หากผู้กู้ต้องการวงเงินในการกู้ซื้อบ้านที่สูงขึ้น จึงควรสะสางหนี้สินต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด

เงินเดือนเท่านี้ สามารถกู้สินเชื่อบ้านได้สูงสุดเท่าไหร่

ประเมินความสามารถในการกู้บ้าน-[เงินเดือนเท่านี้-กู้ได้เท่าไหร่]_web1.jpg

หมายเหตุ : สูตรการคำนวณดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น หากผู้ยื่นกู้ต้องการทราบข้อมูลแบบละเอียดชัดเจน แนะนำให้ทำการติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคาร

ที่มา : https://blog.ghbank.co.th (ธอส.)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ยื่นกู้ซื้อบ้านมือสอง จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

รวมเอกสารยื่นกู้สินเชื่อบ้านแต่ละธนาคาร ต้องเตรียมอะไรบ้าง

พ่อค้าแม่ค้าไม่มีทะเบียนการค้าแต่อยากกู้บ้านต้องทำยังไง

กู้บ้านให้ผ่าน ฉบับมนุษย์เงินเดือน พร้อมวิธีคำนวณสินเชื่อ

5 สาเหุตทำไมคนรายได้สูงแต่กู้บ้านไม่ผ่าน

สนใจบ้านบางกอกคลิกเลย.jpg


สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

>> เลือกชมได้ที่นี่คลิก <<

ชม รีวิวบ้านมือสองตกแต่งใหม่ คลิก

ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสอง ในกรุงเทพฯ บ้านมือสองนนทบุรี และปริมณฑล 

สามารถติดต่อได้ที่นี่กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ > คลิกที่นี่ <

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น นโยบายคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว