Loading...

Loading
รับฝากขายบ้าน : บ้านมือสอง

ระยะร่นของบ้าน' หรือ Set Back คืออะไร? ทำไมคนสร้างบ้านควรรู้

21 มกราคม 2568

ระยะร่นของบ้าน' หรือ Set Back คืออะไร? ทำไมคนสร้างบ้านควรรู้
เมื่อพูดถึงการสร้างบ้านสักหลัง… หนึ่งในประเด็นสำคัญที่หลายคนมักมองข้ามคือ "ระยะร่น" หรือ Set Back ซึ่งเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายที่มีผลต่อการออกแบบบ้าน และการก่อสร้างโดยตรง หากละเลยหรือไม่ปฏิบัติตาม ก็อาจส่งผลต่อการอนุมัติแบบก่อสร้าง หรือแม้กระทั่งความปลอดภัยของตัวบ้านนั่นเองครับระยะร่นของบ้าน' หรือ Set Back คืออะไร? ทำไมคนสร้างบ้านควรรู้


ระยะร่นของบ้านคืออะไร?
ระยะร่น คือระยะห่างระหว่างตัวอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างกับขอบเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างข้างเคียง โดยวัดจากจุดอ้างอิง เช่น ขอบที่ดิน ถนน หรือแหล่งน้ำ กฎหมายได้กำหนดระยะร่นไว้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน และผู้อยู่อาศัย ช่วยเรื่องการถ่ายเทอากาศภายในตัวบ้าน สามารถกำหนดความพอดีของแสงสว่างธรรมชาติได้อย่างประสิทธิภาพ ป้องกันปัญหาเรื่องการบดบังวิสัยทัศน์ การรุกล้ำเขตที่ดิน และการรบกวนเพื่อนบ้านสำหรับการสร้างบ้านเดี่ยวหรือบ้านบนที่ดินส่วนตัว ‘ระยะร่น’ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเพื่อปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างถูกต้อง
 เพิ่มเติม* โดยบ้านที่สร้างเอง ระยะร่นจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของบ้าน ความสูงของอาคาร และตำแหน่งของบ้านบนแปลงที่ดิน ดังนั้นควรปรึกษากับทางวิศวะกรผู้ออกแบบบ้านให้ดี เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง

ระยะร่นของบ้าน 4.jpg
ระยะร่นของการสร้างบ้านเดี่ยว
1. ระยะร่นจากเขตที่ดินข้างเคียง
บ้านความสูงไม่เกิน 9 เมตร (2 ชั้น)
หากมีช่องเปิด (เช่น หน้าต่างหรือประตู) ต้องเว้นระยะจากแนวเขตที่ดิน อย่างน้อย 2 เมตร
หากไม่มีช่องเปิด สามารถสร้างชิดแนวเขตได้แต่ต้องเว้นระยะ 0.5 เมตร

หากต้องการสร้างบ้านชิดแนวเขตน้อยกว่า 0.5 เมตร ต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้าน และกำแพงด้านนั้นต้องเป็นผนังทึบ
บ้านความสูงเกิน 9 เมตร (3 ชั้นขึ้นไป)
หากมีช่องเปิด ต้องเว้นระยะจากเขตที่ดิน อย่างน้อย 3 เมตร

ระยะร่นของบ้าน 6.jpg
2. ระยะร่นจากถนนสาธารณะ
ถนนกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ต้องเว้นระยะจากกึ่งกลางถนน อย่างน้อย 3 เมตร
ถนนกว้าง 6-10 เมตร ต้องเว้นระยะจากกึ่งกลางถนน อย่างน้อย 6 เมตร
ถนนกว้าง 10-20 เมตร ต้องเว้นระยะห่างจากขอบเขตที่ดิน 1/10 ของความกว้างถนน
ถนนกว้างเกิน 20 เมตร ต้องเว้นระยะจากขอบเขตที่ดิน อย่างน้อย 2 เมตร

ระยะร่นของบ้าน 5.jpg
3. ระยะร่นจากแหล่งน้ำสาธารณะ
แหล่งน้ำขนาดเล็ก (ความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร) ต้องเว้นระยะห่างจากขอบแหล่งน้ำ อย่างน้อย 3 เมตร
แหล่งน้ำขนาดกลาง (ความกว้างมากกว่า 10 เมตร) ต้องเว้นระยะห่างจากขอบแหล่งน้ำ อย่างน้อย 6 เมตร
แหล่งน้ำขนาดใหญ่ (ทะเล ทะเลสาบ บึงน้ำขนาดใหญ่) ต้องเว้นระยะห่างจากขอบแหล่งน้ำ อย่างน้อย 12 เมตร

ระยะร่นของบ้าน 3.jpg


ข้อควรระวังในการออกแบบและก่อสร้างบ้าน
คำนวณพื้นที่ใช้งานให้เหมาะสมกับระยะร่น
บ้านทุกหลังสามารถสร้างบนพื้นที่ได้ไม่เกิน 70% ของพื้นที่ดินทั้งหมด โดยต้องเหลือพื้นที่ว่างสำหรับระยะร่นอย่างน้อย 30% เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างบ้านชิดแนวเขตจนเกินไป

เพราะการสร้างบ้านชิดเขตเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องแสงสว่าง การบังลม และข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านในอนาคต ระวังการออกแบบพื้นที่เพิ่มเติม ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น กันสาด ระเบียง หรือหลังคายื่น ต้องไม่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ระยะร่นที่กำหนด ตรวจสอบกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายระยะร่นในแต่ละพื้นที่อาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติม เช่น บ้านติดทะเล หรือพื้นที่อยู่ในเขตควบคุมพิเศษ

ทำไมระยะร่นจึงสำคัญ?
การเว้นระยะร่นไม่ได้มีไว้เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีในแง่ของการอยู่อาศัยและการดูแลบ้านในระยะยาว เช่น สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ช่วยให้บ้านโปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทดี และแสงสว่างธรรมชาติเข้าถึงมากขึ้น ความสะดวกในการบำรุงรักษา เพิ่มพื้นที่สำหรับซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้านโดยไม่รบกวนเพื่อนบ้าน
ป้องกันเหตุอันไม่คาดฝัน: ลดความเสี่ยงจากอัคคีภัย น้ำท่วม หรืออาคารทรุดตัว


ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จึงสรุปได้ว่า "ระยะร่นของบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และทาวน์เฮ้าส์" เป็นสิ่งสำคัญที่คนสร้างบ้านทุกคนควรรู้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บ้านถูกต้องตามกฎหมาย สวยงาม โปร่งโล่ง และปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านใหม่หรือปรับปรุงบ้านเดิม การปรึกษาสถาปนิก วิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณสามารถจัดการเรื่องการเว้นระยะร่นได้อย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้คุณสามารถสร้างบ้านในฝันได้อย่างราบรื่นนั่นเองครับ


ถ้ากำลังมองหาบ้านที่มีพื้นที่กว้างขวาง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องระยะร่น ตามทีมงานมาชมได้เลยครับ...

คลิกชมบ้านรีโนเวท.png

Underline.png

FB1.png   IG2.png   YT3.png   LINE4.png   TIKTOK5.png

Underline - Contact.png
02-494-9187


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น นโยบายคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว