ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก เร่งก่อสร้างคาดเสร็จเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
โครงการทางด่วนสายใหม่เชื่อม "ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก" เป็นทางพิเศษยกระดับขนาด 6 เลน โดยก่อสร้างบนเขตทางรถไฟสายใต้ที่มีอยู่เดิม จุดเริ่มต้นจากถนนกาญจนาภิเษก (ใกล้กับโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์) วางตัวจากด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ขนานกับทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ – ตลิ่งชัน) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสะพานพระราม6 จนถึงบริเวณย่านบางซื่อ เชื่อมต่อกับทางพิเศษบริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 ระยะทาง 16.7 กิโลเมตร มูลค่าของการก่อสร้าง : 24,075,000,000 ล้านบาท
ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2555 แล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2559 แต่ทางบีอีซีแอล-บมจ.ทางด่วนกรุงเทพกำลังเร่งงานก่อสร้างให้เปิดใช้เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2559 โดยจะเก็บค่าผ่านทางรถยนต์ 4 ล้อ อยู่ที่ 50 บาท รถ 6-10 ล้อ อยู่ที่ 80 บาท และเกิน 10 ล้อ อยู่ที่ 115 บาท"
จุดต่อเชื่อมกับถนนสายหลักและต่อเชื่อมกับทางพิเศษ รวม 8 แห่ง ประกอบด้วย
1. จุดต่อเชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก เข้าสู่ด่านกาญจนาภิเษก
2. จุดต่อเชื่อมกับถนนราชพฤกษ์ เข้าสู่ด่านราชพฤกษ์
3. จุดต่อเชื่อมทางยกระดับบรมราชชนนี (ขาเข้าเมือง) เข้าสู่ด่านบรมราชชนนี
4. จุดต่อเชื่อมถนนสิริธร ถนนเทิดพระเกียรติ และพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟบางบำหรุเข้าสู่ด่านบางบำหรุ
5. จุดต่อเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์ และโครงการสะพานเกียกกาย (ในอนาคต) เข้าสู่ด่านจรัญสนิทวงศ์ 2
6. จุดต่อเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณหน้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ถนนบางกรวยไทรน้อย) เข้าสู่ด้านจรัญสนิทวงศ์ 1)
7. จุดต่อเชื่อมกับถนนประชาราษฏร์สาย 1 ถนนรัชดาภิเษกฝั่งพระนคร ถนนพิบูลย์สงครามเข้าสู่ด่านพระราม 6
8. จุดต่อเชื่อมกับทางพิเศษศรีรัชและถนนกำแพงเพชร 2 เข้าสู่ด่านศรีรัช
ทางขึ้น-ลง 6 แห่ง (ห่างกันอย่างละ 3 กม.)
1. ทางขึ้น-ลง กาญจนาภิเษก
2. ทางขึ้น-ลง ราชพฤกษ์
3. ทางขึ้น-ลง บางบำหรุ
4. ทางขึ้น-ลง จรัญสนิทวงศ์
5. ทางขึ้น-ลง พระรามหก
6. ทางขึ้น-ลง กำแพงเพชร
ทางแยกต่างระดับ 3 แห่ง
1. เชื่อมถนนกาญจนาภิเษก
2. เชื่อมถนนบรมราชชนนี
3 เชื่อมทางด่วนศรีรัช
โครงการนี้จะช่วยเรื่องการจราจรฝั่งธนฯ ให้เกิดความคล่องตัว ขึ้น คาดว่ามีผู้ใช้บริการ 1 แสนคันต่อวัน จะเข้ามาเติมในโครงข่ายเดิมทั้งระบบ มีปริมาณการจราจรอยู่เฉลี่ยวันละกว่า 1.1 ล้านคัน
ที่มา
prachachat
realist